เคล็ดไม่ลับสำหรับดูแลหลังคาและดาดฟ้าที่ทุกบ้านควรรู้

ถ้าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาน้ำรั่วซึมหลังคาและดาดฟ้า หรือต้องการป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นในอนาคต เรามีเคล็ดลับง่ายๆ สำหรับการดูแล และซ่อมแซมน้ำรั่วซึมหลังคา และดาดฟ้า ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าหลังคา และดาดฟ้าของคุณจะไม่เกิดปัญหารั่วซึมอีกต่อไป
ปัญหาน้ำรั่วซึมของหลังคาและดาดฟ้ามักเกิดขึ้นหลังจากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นจากฝนตกหนัก แสงแดดที่รุนแรง หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้วัสดุของหลังคา และดาดฟ้าเกิดการเสื่อมสภาพ เมื่อเวลาผ่านไป การซึมของน้ำสามารถส่งผลให้โครงสร้างภายในได้รับความเสียหาย ทำให้เกิดเชื้อรา หรือคราบน้ำตามจุดต่าง ๆ ของบ้าน ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้บ้านดูไม่สวยงาม แต่ยังอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความชื้นสะสมอีกด้วย
การเสื่อมสภาพของวัสดุต่างๆ บนหลังคาและดาดฟ้าเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้ คือการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ต้น ด้วยการป้องกันที่ถูกต้อง และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อยืดอายุการใช้งานของหลังคาและดาดฟ้าให้ยาวนานขึ้น การป้องกันล่วงหน้าสามารถช่วยให้คุณประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมในระยะยาว
ถ้าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาการรั่วซึมหลังคาและดาดฟ้า และต้องการ ซ่อมหลังคารั่ว ซ่อมรอยแตกร้าวกระเบื้องดาดฟ้า หรืออยากป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นในอนาคต คุณควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันรั่วซึมหลังคา กันรั่วซึมกระเบื้อง โดยเฉพาะ เช่น อะคริลิคกันน้ำรั่วซึม และโพลิเมอร์ซีลแลนท์ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การป้องกันการรั่วซึมโดยตรง และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่นตัวสูง (High elasticity) มีคุณสมบัติในการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม (Good adhesion) และทนทานต่อแสงยูวีและสภาพอากาศรุนแรง (UV and weathering resistant) ไม่ว่าจะเป็นฝน หรือน้ำขัง คุณจะมั่นใจได้ว่าหลังคา และดาดฟ้าของคุณจะไม่เกิดปัญหารั่วซึมอีกต่อไป
สาเหตุการเสื่อมสภาพของวัสดุหลังคาและดาดฟ้า

1. การกระทำของ UV (Ultraviolet Radiation)
แสงแดดที่มีรังสี UV เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัสดุหลังคา และดาดฟ้าเสื่อมสภาพ เมื่อวัสดุสัมผัสกับรังสี UV เป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free radical) ซึ่งจะไปทำลายวัสดุ ทำให้วัสดุเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดการแตกหักและหลุดล่อนได้ง่าย ซึ่งส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าวและรั่วซึม (Cracking and water leakage)
2. การกระทำของน้ำและความชื้น
น้ำและความชื้นสามารถซึมเข้าสู่รอยแตก หรือช่องว่างในวัสดุหลังคา และดาดฟ้า เมื่อความชื้นสะสมในวัสดุ จะทำให้เกิดการขยายตัว (Expansion) และหดตัว (Compression) ตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ สิ่งนี้สามารถทำให้วัสดุเกิดการเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ น้ำยังอาจทำให้วัสดุเกิดการกัดกร่อน (Corrosion) หรือเชื้อราที่สามารถทำลายโครงสร้างภายในได้
3. การเสื่อมสภาพจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิระหว่างกลางวัน และกลางคืน สามารถทำให้วัสดุเกิดการขยายตัว และหดตัวอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวและหดตัวนี้อาจทำให้วัสดุเกิดความเครียด (Stress) และแตกหัก (Cracking) ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหารั่วซึม
4. การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ
การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพสำหรับการป้องกันการรั่วซึมมีความสำคัญ เนื่องจากวัสดุที่มีคุณภาพจะมีคุณสมบัติในการทนทานต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดี รวมถึงการยึดเกาะกับพื้นผิวได้ดี และทนทานต่อการเสื่อมสภาพ
ทำความรู้จักกับคุณสมบัติต่างๆ ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในงานกันรั่วซึม
1. อะคริลิคกันน้ำรั่วซึม (Acrylic Waterproof)
อะคริลิคโพลิเมอร์เป็นโพลิเมอร์ที่มีโครงสร้างเป็นสายโซ่ยาว มีความยืดหยุ่นสูงซึ่งสามารถทนต่อการขยายตัวและหดตัวได้ดี โดยเฉพาะเมื่อผสมกับสารเติมแต่งที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความทนทานต่อ UV อะคริลิคช่วยป้องกันการรั่วซึมด้วยการสร้างฟิล์มที่มีความยืดหยุ่นสูง และทนทานต่อการแปรปรวนจากสภาพอากาศ
2. ซิลิโคนยาแนว (Silicone Sealant)
คือวัสดุที่ใช้สำหรับการอุดรอยต่อ รอยแตก หรือช่องว่างระหว่างวัสดุต่าง ๆ เพื่อป้องกันการรั่วซึมและปิดกั้นการผ่านของอากาศ น้ำ และความชื้น มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อทั้งอุณหภูมิต่ำ และอุณหภูมิสูง และไม่เสื่อมสภาพง่าย ไม่ยุบตัว เมื่อใช้งานในระยะยาว แห้งตัวโดยการเกิดปฎิกิริยากับความชื้นในอากาศ (Moisture cure) จึงแห้งตัวเร็ว แต่มีข้อจำกัดที่ต้องพึงระวังคือซิลิโคนยาแนวทาสีทับไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเลือกสีของซิลิโคนยาแนวที่จะใช้ให้ตรงหรือใกล้เคียงกับสีของวัสดุ นอกจากนี้ซิลิโคนยาแนวจะมีกลิ่นค่อนข้างฉุนในระหว่างที่แห้งตัวโดยเฉพาะซิลิโคนประเภทกรด ดังนั้นอาจต้องหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่ใช้ซิลิโคนยาแนวจนกว่ากลิ่นจะหมดไป
3. โพลิเมอร์ยาแนว (Polymer Sealant) หรือ เอ็มเอสโพลิเมอร์ยาแนว (MS Polymer Sealant)
โพลิเมอร์ซีลแลนท์ เป็นนวัตกรรมที่เหนือกว่ายาแนวทุกประเภท เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อการขยายตัวและหดตัวของวัสดุ (High joint movement capability) ยาแนวเต็มร่องไม่ยุบตัว ทาสีทับได้* ยึดเกาะดีเยี่ยมกับวัสดุหลากหลาย ทนต่อรังสี UV, ทนอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้ดี และสภาพอากาศที่รุนแรง ไม่หดตัว ไม่อันตรายต่อผู้ใช้งานเพราะไม่มีสารไอโซไซยาเนต (potential human carcinogens) รวมทั้งยังสามารถใช้ยาแนวได้แม้วัสดุเปียกชื้น**โดยที่ไม่เกิดฟองอากาศในเนื้อยาแนวซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะของโพลิเมอร์ยาแนว คุณสมบัติที่ดีที่กล่าวมาของโพลิเมอร์ยาแนวนี้เกิดจากการพัฒนาเพื่อ
- ลดเวลาการทำงานและข้อจำกัดในการใช้งานของยาแนวทั่วไปในช่วงฤดูฝน (แห้งตัวเร็วและยาแนวได้แม้วัสดุเปียกชื้น)
- ปรับปรุงคุณสมบัติให้ทนทานมากขึ้น (ทนต่อสภาวะอากาศและรองรับการขยายและหดตัวของวัสดุ)
- มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน (สารระเหยต่ำ, ไม่มีสารไอโซไซยาเนต)
จากคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น โพลิเมอร์ยาแนวจึงเป็นยาแนวที่ให้คุณสมบัติที่ดีครบทุกมิติและตอบโจทย์การใช้งาน
*กรณีทาทับด้วยสีน้ำมันควรทดสอบก่อนใช้งานจริง
**ผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ยาแนวบางยี่ห้ออาจไม่มีคุณสมบัตินี้ โปรดสอบถามทางผู้ผลิตก่อนใช้งาน
4. พียูโฟม (Polyurethane Foam)
พียูโฟม หรือโพลียูรีเทนโฟม ส่วนประกอบหลักคือโพลีออลเรซิ่นผสมกับไอโซไซยาเนตบรรจุในกระป๋อง เมื่อสเปรย์ออกมาจะเป็นลักษณะครีมโฟม จากนั้นจะเกิดการขยายตัวพร้อมกับการแห้งตัวของโฟม พียูโฟมมีคุณสมบัติในการขยายตัวและยึดเกาะได้ดีในระดับหนึ่ง โฟมเมื่อขยายตัวเต็มที่แล้วจะช่วยปิดช่องว่างและรอยแตกอย่างแน่นหนา พร้อมทั้งมีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำและความชื้น และยังสามารถตัดตกแต่งให้เรียบเพื่อความสวยงามได้ด้วย สิ่งสำคัญที่จะทำให้พียูโฟมไม่แห้งกรอบ คงทนยาวนานคือการทาทับเนื้อพียูโฟมด้วยอะคริลิคกันซึมสูตรน้ำที่มีการยึดติดและยืดหยุ่นสูง (SISTA D100 plus) โดยทาหลังจากตัดแต่งเนื้อพียูโฟมให้เรียบร้อยและทาทับด้วยอะคริลิคกันซึมสูตรน้ำอย่างน้อย 2 รอบ
5. บิทูเมน (Bitumen Tape)
เทปกันรั่วซึมเป็นวัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการซ่อมแซมบริเวณที่เกิดการรั่วซึม เนื่องจากใช้งานง่าย เพียงแค่ตัด และแปะติดตรงบริเวณที่ต้องการซ่อมแซม โดยเทปกันรั่วซึมที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดหลักๆ มีอยู่ 2 แบบ คือบิวทิลเทป และบิทูเมนเทป
ในส่วนของบิทูเมนเทปที่เป็นเทปกันรั่วซึม เนื้อเทปมีความแข็งแรงทนทานยาวนาน แรงยึดติดสูงมาก กันน้ำและทนน้ำได้ดี และมีความยืดหยุ่น ซึ่งทำให้สามารถใช้ในการซ่อมแซมรอยรั่ว และรอยต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้บิทูเมนเป็นตัวเลือกที่ดีในการป้องกันการรั่วซึม
วิธีการแก้ปัญหาน้ำรั่วซึมของหลังคาและดาดฟ้า

1. ตรวจสอบและซ่อมแซมจุดที่รั่วซึม
ตรวจสอบความเสียหาย: สำรวจหลังคาและดาดฟ้าเพื่อหาจุดที่มีรอยแตกร้าวหรือรอยรั่ว สังเกตุคราบน้ำที่เกิดขึ้นบริเวณผนัง ขอบมุมของห้อง รวมถึงการหลุดล่อนหรือบวมพองของสีและวอลล์เปเปอร์บนผนัง คราบน้ำและการบวมพองของฝ้าเพดาน จากนั้นหาต้นตอของจุดรั่วซึมเพื่อทำการซ่อมแซม
ซ่อมแซมรอยแตกร้าวที่ทำให้เกิดปัญหารั่วซึม: ใช้ผลิตภัณฑ์ซ่อมแซมที่เหมาะสม เช่น อะคริลิคยาแนว, ซิลิโคนยาแนว, อะคริลิคกันรั่วซึม เพื่ออุดร่องรอยแตก และรอยต่อที่พบ และการทำความสะอาดพื้นผิวก่อนการยาแนวจะช่วยให้การยึดเกาะดีขึ้น
2. การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันรั่วซึม
1.) อะคริลิค ( Acrylic sealant, Acrylic waterproof ) : อะคริลิคที่เป็นส่วนประกอบหลักและสำคัญในผลิตภัณฑ์อะคริลิคยาแนว และอะคริลิคกันรั่วซึม โดยอะคริลิคที่ใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์กันรั่วซึม เป็นอะคริลิคโพลิเมอร์อิมัลชั่นสูตรน้ำ (Water-based acrylic polymer emulsion) ที่เกิดจากการนำโมโนเมอร์ประเภทอะคริลิคเอสเทอร์และกรดอะคริลิคมาทำปฏิกิริยาอิมัลชั่นโพลิเมอร์ไรเซชั่นในน้ำ (Oil-in-water emulsion polymerization) โดยมีสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เป็นตัวช่วยให้โมโนเมอร์เกิดปฏิกิริยาในน้ำได้ รวมทั้งทำให้ผลิตภัณฑ์อะคริลิคโพลิเมอร์อิมัลชั่นสูตรน้ำที่ได้ กระจายตัวได้คงตัวในน้ำ โดยคุณภาพของอะคริลิคโพลิเมอร์อิมัลชั่นสูตรน้ำขึ้นอยู่กับการออกแบบสูตรของแต่ละผู้ผลิต และคุณภาพของอะคริลิคโมโนเมอร์ที่ใช้ จึงส่งผลถึงคุณภาพของอะคริลิคกันรั่วซึมของแต่ละยี่ห้อจึงมีความแตกต่างกัน
โดยทั่วไปคุณสมบัติเด่นของอะคริลิคกันรั่วซึมจะให้ความยืดหยุ่นที่ดี ยึดติดกับวัสดุดีโดยเฉพาะวัสดุประเภทรูพรุน เช่น ไม้ ปูน อิฐ ซีเมนต์ขัดหยาบทนอุณหภูมิสูง กันน้ำได้ดี สามารถทาสีทับได้ กลิ่นไม่ฉุนปลอดภัยเพราะเป็นสูตรน้ำ ใช้งานง่าย หากใช้ไม่หมดสามารถเก็บไว้ใช้ต่อได้นานตามอายุสินค้า ส่วนข้อจำกัดก็มีเช่นกัน เช่น ใช้เวลาแห้งตัวสมบูรณ์นาน, พื้นผิวที่จะใช้งานต้องไม่เปียกชื้นเพราะจะทำให้ผลิตภัณฑ์อะคริลิคกันรั่วซึมแห้งตัวช้าหรืออาจไม่แห้งตัว, เนื่องจากเป็นสูตรน้ำการแห้งตัวสมบูรณ์เกิดจากการระเหยของน้ำทำให้ความหนาของเนื้ออะคริลิคกันรั่วซึมที่ทาอาจบางลงจากเดิมเล็กน้อยหลังจากแห้งตัวสมบูรณ์, การใช้งานบนวัสดุประเภทโลหะต้องพึงระวังเรื่องการเกิดสนิม,
ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายอย่างของอะคริลิค อะคริลิคจึงถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตสินค้าอะคริลิคกันรั่วซึมสูตรน้ำสำหรับงานกันซึมดาดฟ้าและหลังคา โดยอะคริลิคที่ถูกเลือกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อะคริลิคกันรั่วซึมสูตรน้ำแบรนด์ SISTA ทั้ง SISTA D150 (ผลิตภัณฑ์อะคริลิคกันซึมดาดฟ้า), SISTA D100 Plus (ผลิตภัณฑ์อะคริลิคกันซึมหลังคา), SISTA Ultra clear (ผลิตภัณฑ์อะคริลิคกันซึมสีใส) นั้นเป็นอะคริลิคที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของทางเยอรมัน จึงมั่นใจได้ในคุณภาพของผลิตภัณฑ์แบรนด์ SISTA ที่อยู่คู่กับตลาดเคมีภัณฑ์ก่อสร้างในประเทศไทยมายาวนานกว่า 20 ปี
ซ่อมแซมรอยแตกลายงาหรือร่องขนาด น้อยกว่า 1 มม. โดยส่วนใหญ่จะเกิดที่ผนัง หรือระเบียงชั้น 2 พื้นกระเบื้องที่เสื่อมสภาพของยาแนวแบบปูนที่หลุดร่อนทำให้เกิดร่อง สามารถใช้ผลิตภัณฑ์อะคริลิคสีใส ซีสต้า อัลตร้าเคลียร์ (Sista Ultra Clear) กันซึม สีใส ที่สามารถทาตามร่องยาแนวแตกร้าว หรือทาทั้งระเบียงเพื่อเคลือบพื้นป้องกันน้ำรั่วซึมลงไปชั้นล่างได้เป็นอย่างดี แห้งแล้วจะมีสีใสมันวาว

ซีสต้า อัลตร้าเคลียร์ หรือ Sista Ultra Clear Waterproof Coating พัฒนาจากอะคริลิคไฮบริดอิมัลชั่นสูตรน้ำ เพื่อป้องกันน้ำซึมผ่าน พร้อมทั้งเคลือบพื้นผิวให้ความแข็งแรงคงทนยาวนาน เมื่อผลิตภัณฑ์แห้งแล้วจะมีลักษณะสีใส มันวาว โดยสามารถซ่อมแซมรอยแตกลายงา และรอยแตกร้าวขนาดเล็กบนผนัง พื้น ดาดฟ้า หลังคา ระเบียง ฯลฯ ได้อย่างดีเยี่ยม ใช้ได้กับวัสดุที่หลากหลาย เช่น กระเบื้อง เซรามิก ยาแนวกระเบื้อง ซีเมนต์ คอนกรีต อิฐ ไม้ แก้ว แผ่นอะคริลิค โพลีคาร์บอเนต หินทราย ไฟเบอร์ซีเมนต์ และวัสดุที่มีรูพรุน เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้งาน สำหรับงานภายในและภายนอก
คุณสมบัติ
- เป็นอะคริลิคไฮบริดสูตรน้ำ
- 2-in-1 กันน้ำรั่วซึม และเคลือบวัสดุ
- แห้งแล้วสีใส มันวาว
- อายุการใช้งานยาวนาน ทนทุกสภาพอากาศ และรังสียูวี ตามมาตรฐาน ASTM C793-05 (1000 h)
- ปลอดภัยจากสารระเหย ISO 11890-2
การใช้งาน: ใช้สำหรับซ่อมแซมรอยแตกและรอยต่อที่ต้องการความโปร่งใสและการยึดเกาะที่ดี
วิธีการซ่อมแซม
1.พื้นผิววัสดุต้องแห้งสะอาด ปราศจากคราบมันและฝุ่น ตรวจสภาพแปรงที่จะใช้ต้องแห้งและสะอาด (แนะนำใช้แปรงขนสังเคราะห์) กรุณาทดสอบบนบริเวณการใช้งานจริงหากต้องการใช้อุปกรณ์อื่นๆ
2.ใช้แปรงแห้งและสะอาดทาผลิตภัณฑ์กันน้ำรั่วซึม ซีสต้า อัลตร้าเคลียร์ (Sista Ultra Clear) อย่างน้อย 2 รอบ โดยทาทับไขว้ กันเพื่อการยึดติดที่ดี โดยเว้นช่วงเวลาก่อนทาทับรอบที่ 2 ประมาณ 30-45 นาที
3.ควรทาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก่อนการใช้งาน และทิ้งไว้ 72 ชั่วโมง หากต้องการทำความสะอาด ด้วยน้ำยาทำความสะอาด
4.ระมัดระวังในการทำความสะอาดพื้นผิวไม่ใช้วัสดุที่แข็งหยาบ เพื่อรักษาพื้นผิวฟิล์มที่เคลือบไว้
ซ่อมแซมรอยแตกหรือร่องขนาด น้อยกว่า หรือเท่ากับ 2 มม. และร่องขนาด 2-5 มม. รอยแตก รั่วซึมบนพื้นดาดฟ้า ผนัง ระเบียง ใช้ผลิตภัณฑ์อะคริลิคกันน้ำรั่วซึม เพื่อเคลือบกันซึม และป้องกันการรั่วซึมสำหรับงานปรับปรุง และซ่อมแซมพื้นดาดฟ้า อะคริลิคเป็นเคมีภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เช่น ความร้อน รังสี UV และการซึมของน้ำ ด้วยความยืดหยุ่นและการยึดเกาะที่ดี

ซีสต้า D150 อะคริลิคกันน้ำรั่วซึม (Sista D150 Acrylic Waterproof) ช่วยกันซึมหลังคา กันซึมดาดฟ้า และกันซึมระเบียง เป็นอะคริลิคโพลิเมอร์สูตรน้ำ พร้อมใช้งาน สำหรับซ่อมแซมรอยแตกร้าว และรอยรั่วซึม สำหรับผนัง ดาดฟ้า รอยแตกลายงา พื้นระแนงไม้ (ร่องขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 มม.) สามารถยึดติดได้ดีกับไม้ คอนกรีต อิฐ โลหะ เหล็กเคลือบ อลูมิเนียม อิฐก่อ แผ่นพรีคาสท์ ซีเมนต์ ปูน ไม่ต้องใช้ตาข่ายไฟเบอร์เมช
คุณสมบัติ
- การป้องกันการรั่วซึม: กันน้ำรั่วซึม 100% มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันน้ำและความชื้น
- ความทนทานต่อสารเคมี: ทนต่อสารเคมีต่าง ๆ
- ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ: สามารถรับมือกับการขยายตัวและหดตัวจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ สะท้อน UV
การใช้งาน: ใช้สำหรับการป้องกันและซ่อมแซมหลังคาและดาดฟ้า ระเบียง ที่มีการเสื่อมสภาพหรือมีการรั่วซึม
วิธีการซ่อมแซม
1.พื้นผิววัสดุต้องแห้งสะอาด ปราศจากคราบมันและฝุ่น
2.ใช้แปรง หรือลูกกลิ้ง ทาซีสต้า D150 อย่างน้อย 2 รอบ โดยทาทับไขว้กัน
3.เว้นช่วงเวลาก่อนทาทับรอบที่ 2 ไว้อย่างน้อย 30 นาที เพื่อการยึดติดที่ดี
4.ควรทาทิ้งไว้ 24 ชม. ก่อนใช้งาน
ข้อควรระวัง
-หลีกเลี่ยงการใช้ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงหรือมีฝนตก
-ป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์สัมผัสกับน้ำจนกว่าจะแห้งสนิท
ซีสต้า D100 พลัส ผลิตภัณฑ์อะคริลิคกันน้ำรั่วซึม (Sista D100 PLUS Acrylic Waterproof & Sealer) เป็นอะคริลิคโพลิเมอร์สูตรน้ำ พร้อมใช้งาน สำหรับซ่อมแซมรอยแตกร้าวบริเวณหลังคา ดาดฟ้า รางน้ำ และกันสาด โรงรถ (ซ่อมแซมรอยแตกหรือร่องขนาด 2-5 มม.) เพื่อกันรั่วซึม ยึดติดได้ดีกับวัสดุแทบทุกประเภท อาทิ คอนกรีต ซีเมนต์ ไม้ เมทัลชีท ไฟเบอร์ซีเมนต์ อลูมิเนียม
คุณสมบัติ
- การป้องกันน้ำ: สามารถปกปิดรอยแตกร้าวบนหลังคาเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีส่วนผสมของสารไททาเนี่ยมไดออกไซด์ทำให้ทนทานต่อรังสี UV และแสงแดด ซึ่งช่วยลดการเสื่อมสภาพของวัสดุ
- ความยืดหยุ่น: มีเนื้อกาวเข้มข้นให้ความยืดหยุ่นสูงถึง 500% ช่วยป้องกันการแตกหักจากการขยายตัวและหดตัวของวัสดุ
วิธีการซ่อมแซม
1.พื้นผิววัสดุต้องแห้งสะอาด ปราศจากคราบมันและฝุ่น
2.ใช้แปรง ลูกกลิ้ง หรือเกรียง ทาซีสต้า D100 พลัส อย่างน้อย 2 รอบ โดยทาทับไขว้กัน
3.เว้นช่วงเวลาก่อนทาทับรอบที่ 2 ไว้อย่างน้อย 30 นาที เพื่อการยึดติดที่ดี
4.ควรทาทิ้งไว้ 24 ชม.
ก่อนใช้งานข้อควรระวัง:
-หลีกเลี่ยงการทาในสภาพอากาศที่ฝนตกหรือมีความชื้นสูง
-ใช้ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศดี
2.) โพลิเมอร์ยาแนว (Polymer Sealant): หรือนิยมเรียกว่า เอ็มเอสโพลิเมอร์ ยาแนว หรืออาจเรียกสั้นๆว่า ยาแนว โพลิเมอร์ โพลิเมอร์ยาแนวถูกออกแบบโดยมีแนวคิดนำคุณสมบัติที่ดี รวมทั้งปรับปรุงข้อจำกัดในการใช้งานของทั้งซิลิโคนยาแนว และพียูยาแนว
- คุณสมบัติที่ดีของทั้งซิลิโคนยาแนว เช่น การทนทานต่อสภาพอากาศ ความเร็วในการแห้งตัว
- คุณสมบัติที่ดีของพียูยาแนว เช่น ความยืดหยุ่นสูง การยึดติดที่ดี สามารถทาสีทับได้
- ข้อจำกัดในการใช้งานของซิลิโคนยาแนว เช่น การทาสีทับไม่ได้ เกิดคราบง่าย
- ข้อจำกัดการใช้งานของพียูยาแนว เช่น ยาแนวบนพื้นผิวเปียกชื้นไม่ได้ การทนต่อสภาวะอากาศที่ไม่สูง มีสารไอโซไซยาเนต อายุการเก็บรักษาไม่ยาวนาน
ตารางปรียบเทียบคุณสมบัติของโพลิเมอร์ยาแนว, พียูยาแนวและ ซิลิโคนยาแนว
(Edward M. Petrie, 2010, MS Polymers in “Hybrid” Sealants, page 7)
คุณสมบัติ
|
โพลิเมอร์ยาแนว
|
พียูยาแนว
|
ซิลิโคนยาแนว
|
ความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน
|
10
|
5
|
9
|
การใช้งานบนพื้นผิวเปียกชื้น
|
10
|
5
|
7
|
การใช้งานที่อุณหภูมิต่ำ
|
10
|
8
|
10
|
การต้านทานการย้อยตัว
|
10
|
10
|
10
|
ความเร็วในการแห้งตัว
|
10
|
7
|
10
|
การเก็บรักษา
|
10
|
7
|
8
|
การทนทานต่อสภาวะอากาศ
|
9
|
6
|
10
|
ความยืดหยุ่น
|
10
|
9
|
7
|
การยึดติดบนวัสดุ
|
10
|
9
|
8
|
การทนความร้อน
|
9
|
8
|
10
|
การทนต่อการเกิดคราบ
|
8
|
8
|
5
|
การทาสีทับได้*
|
10
|
10
|
3
|
คะแนน; 10 = ดีเยี่ยม ----> 1 = แย่มาก
*สีน้ำอะคริลิค

ผลิตภัณฑ์ ซีสต้าโพลิเมอร์ซีลแลนท์ (Sista Polymer Sealant) เป็นยาแนวนวัตกรรมขั้นสูง ที่พัฒนาเพื่อพิชิตข้อด้อยของยาแนวซิลิโคนและโพลียูริเทน (พียู) ใช้เพื่อยาแนวร่อง รอยต่อ รอยแตกร้าวตั้งแต่ 3 มม. สูงสุดไม่เกิน 30 มม. (ขึ้นอยู่กับความลึกของร่อง) ยึดติดได้ดีกับวัสดุก่อสร้างทุกประเภท เช่น คอนกรีต อิฐ ไม้ อลูมิเนียม เหล็ก แผ่นอลูมิเนียมคอมโพลิต (ACP) สแตนเลส ทองแดง โพลีคาร์บอเนต พลาสติกยูพีวีซี (ไวนิล) และพรีคาส มีความยืดหยุ่นสูงสุดถึง 1000%, สามารถทาสีทับเนื้อยาแนวได้, ทนทานต่อแสงยูวีและสภาวะอากาศตามมาตรฐาน ASTM C793-05 (2017) ที่ 1000 ชั่วโมง, ไม่เกิดคราบตามมาตรฐาน ASTM C510: 2016, เนื้อยาแนวรองรับการเคลื่อนตัวของวัสดุสูงถึง +/- 50% ตามมาตรฐาน ASTM C719: 2014 (2019) Class 50, มีความปลอดภัยกับผู้ใช้งานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน LEED v4 and v4.1 BETA และผ่านมาตรฐานสากลของการทดสอบยาแนว ASTM C920 (Class 50) นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ ซีสต้าโพลิเมอร์ซีลแลนท์ (Sista Polymer Sealant) ยังมีจุดเด่นที่สำคัญคือ สามารถยาแนวได้แม้วัสดุเปียกชื้น ซึ่งจะลดข้อจำกัดของการใช้ยาแนวที่ไม่เหมาะในการใช้งานในช่วงฤดูฝนที่ต้องรอให้พื้นผิววัสดุแห้งเสียก่อน
คุณสมบัติ
- ติดได้ทุกวัสดุโดยไม่ต้องใช้สารรองพื้น
- ยึดหยุ่นสูงสุดถึง 1000% รองรับการขยายตัวได้ดี
- ทนทานทุกสภาพอากาศและแสงยูวี มาตรฐาน ASTM C793 และ ASTM C794
- ทาสีทับได้
- ทนทานยาวนาน มาตรฐาน ASTM C1247 และ ASTM C920 (สูงสุดถึง 10 ปี*)
- ปลอดภัยกับผู้ใช้งาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน LEED v4 and v4.1 BETA
วิธีการซ่อมแซม
ร่องยาแนวต้องแห้งสะอาด ปราศจากคราบมัน และฝุ่น ตัดปลายหลอดให้เฉียง 45 องศา ขนาดตามความกว้างของร่องยาแนว ใช้ปืนสำหรับยิงยาแนว ยิงให้เต็มร่อง ปาดยาแนวให้เรียบ
1) พียูโฟม (Polyurethane Foam): เหมาะกับการซ่อมแซมรอยแตก ร่อง หรือโพรง ขนาดที่มากกว่า 5 มม. ขึ้นไป พียู โฟม ถูกใช้ในการอุดรอยรั่ว และช่องว่างที่เกิดจากการเสื่อมสภาพ หรือการติดตั้งไม่ถูกต้อง สามารถใช้ พียู โฟม อุดหลังคา, พียู โฟม อุดรู, พียู โฟม อุดรอยรั่ว ฟองโฟมพียูเป็นวัสดุที่สามารถขยายตัว และยึดเกาะได้ดี ทำให้เหมาะสำหรับการซ่อมแซมรอยต่อหรือช่องว่างที่กว้าง

ผลิตภัณฑ์ ซีสต้า พียูโฟม M525 (Sista PU Foam M525) พียู โฟม กันรั่วซึมสารพัดประโยชน์
ซีสต้าพียูโฟม สารพัดประโยชน์ พร้อมใช้งาน สำหรับอุดช่องว่าง ปีกนก โพรงใต้ตัวบ้าน ช่องว่างรอบท่อแอร์ ท่อประปา ท่อสายไฟ เป็นฉนวนกันความร้อน/เย็น
คุณสมบัติ
- การขยายตัว: สามารถขยายตัว 36 เท่า* และเติมเต็มช่องว่างได้ดี
- การยึดเกาะ: ยึดติดกับวัสดุหลากหลายชนิดได้ดี
- การกันน้ำ: กันน้ำ 100% แห้งเร็ว เมื่อแห้งแล้วไม่ยุบตัว ตัดตกแต่ง และทาสีทับได้
หลังจากอุดช่องว่างแล้วจึงทาทับด้วยผลิตภัณฑ์ ซีสต้า D100 พลัส อะคริลิคกันน้ำรั่วซึม (Sista D100 Plus Acrylic Waterproof & Sealer) ทำให้มีความคงทนในการใช้งานทั้งภายในและภายนอก
*ผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการ
วิธีการซ่อมแซม
- พื้นผิวต้องแห้งสะอาดปราศจากคราบมัน และฝุ่น
- ก่อนใช้งานเขย่ากระป๋องอย่างน้อย 20 ครั้ง
- สวมหลอดโฟม หมุนให้แน่น
- คว่ำกระป๋องฉีดโฟมในบริเวณที่ต้องการ ควรใช้ให้หมดภายในครั้งเดียว
- ประมาณ 4 ชม. โฟมแห้งตัว ใช้คัตเตอร์ตัดแต่งให้เรียบ
- ควรทาซีสต้า อะคริลิคกันซึม หรือสีทับบนโฟม เพื่อความคงทน
2) บิทูเมน (Bitumen): บิทูเมนเป็นสารกันซึมที่นิยมใช้ในงานปูพื้นและหลังคา ซ่อมแซมรอยต่อของแผ่นหลังคา แฟลชชิ่ง รางน้ำ บิทูเมนมีคุณสมบัติในการกันน้ำได้ดี และมีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพจากสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่จะเรียกว่า เทปกาวกันรั่วซึม เทปกันรั่วซึม

ผลิตภัณฑ์ ซีสต้า บิทูเมน เทป เทปกาวกันรั่วซึม (Sista Smart Tape) รุ่นพรีเมี่ยม เป็นเทปบิทูเมนกันน้ำเสริมผิวหน้าด้วยแผ่นอลูมิเนียมสะท้อนแสงทำให้ทนทุกสภาพอากาศ เหมาะกับงานกันรั่วซึม รอยต่อที่มีการขยายตัว ปกปิดรอยแตกร้าว รอยต่อของหลังคาทุกประเภท รางน้ำ รอยต่อผนังกับพื้นดาดฟ้า ท่อระบายน้ำ รอยต่อของปล่องลม หรือลูกหมุนระบายอากาศ ติดได้ดีกับวัสดุทุกประเภท อาทิ โลหะ ซีเมนต์ แผ่นไฟเบอร์ ไวนิล โพลีคาร์บอเนต เมทัลชีท คอนกรีต ไม้ อิฐ อลูมิเนียมคอมโพสิต
คุณสมบัติ
- ความยืดหยุ่น: ยืดหยุ่นสูงและสามารถติดได้ดีบนพื้นผิวหลากหลาย
- ทนทานต่อสภาพอากาศ: ทนทานต่อรังสี UV และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
- การกันน้ำ: กันน้ำ 100% แรงยึดติดแน่นกว่าเทปบิวทิล (ยางสังเคราะห์)
การใช้งาน: ใช้สำหรับ ปิดรอยต่อ และ รอยรั่วแผ่นต่อหลังคา รอยรั่วรางน้ำ ติดได้ดีบนพื้นผิวต่าง ๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่ต้องการการซ่อมแซมอย่างรวดเร็ว
วิธีการซ่อมแซม
1. พื้นผิวต้องแห้งสะอาดปราศจากคราบมัน และฝุ่น
2. ตัดเทปตามขนาดที่ต้องการ ลอกแผ่นฟิลม์ออก ปิดและกดทับรอยต่อให้แน่น
3. กรณีมีการต่อแผ่น ควรซ้อนแผ่นเดิมอย่างน้อย 5 ซม.
ข้อควรระวัง:
- ใช้เทปในพื้นที่ที่แห้งและสะอาด
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเทปติดแน่นและไม่เกิดรอยฟองอากาศ
3. การบำรุงรักษาและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
การทำความสะอาด: คอยทำความสะอาดหลังคาและดาดฟ้าเพื่อลดการสะสมของสิ่งสกปรกและคราบตะกอน ซึ่งอาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
ตรวจสอบเป็นระยะ: ตรวจสอบสภาพหลังคาและดาดฟ้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาปัญหาเล็ก ๆ ก่อนที่มันจะกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่
การดูแลรักษาหลังคาและดาดฟ้าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากความเสียหายจากการรั่วซึมสามารถส่งผลต่อโครงสร้างและสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้าน การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้บ้านของคุณปลอดภัยจากปัญหารั่วซึม และยืดอายุการใช้งานของหลังคาและดาดฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลิตภัณฑ์ ซีสต้า Sista ได้รับการออกแบบ และพัฒนาเพื่อตอบโจทย์การป้องกันการรั่วซึม และการซ่อมแซมหลังคาและดาดฟ้า โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยร่วมกันกับวัสดุที่มีคุณภาพสูง
หากคุณกำลังมองหาวิธีป้องกันการรั่วซึม หรือซ่อมแซมหลังคา และดาดฟ้าของคุณ อย่าลืมพิจารณาผลิตภัณฑ์จาก Sista กลุ่มป้องกันการรั่วซึม ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะ ติดต่อเราวันนี้เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับบ้านของคุณ